บทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา

                                                                                                                                                                                                                           

(tava) 2009313_51908.jpg

(tava) 2009423_55695.jpg                       
                                                            
คำขอขมากรรม อธิษฐานอโหสิกรรม

กรรมอันใด ที่ข้าพเจ้าทำไว้ด้วย กาย วาจา ใจ ในพระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์
คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์  เพราะไม่รู้  เพราะความหลง  เพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ขอพระพุทธ  พระธรรม  พระอริยสงฆ์  และคุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ จงยกโทษ
โปรดให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ ความทุกข์ขออย่าได้ ความใคร่ขออย่ามี
ขอให้มีความสุข สวัสดีมีชัย หายทุกข์ หายโศก หายโรค หายภัย หายอุบาทว์
เสนียดจัญไร  อันตรายจงเสื่อมสิ้นไปหายไป และกรรมใดที่ข้าพเจ้าเคยมีเวรกรรมกับท่านผู้ใด
ในชาติใดก็ตามขอให้ท่านจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย
แม้กรรมที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ ยกถวาย พระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน

ด้วยอานิสงฆ์อภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคนาญาติ ผู้มีอุปการะคุณ
มีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่ในสิ่งดีงามด้วยเทอญ (นิพพานนะ ปัจจะโย โหตุ)
อธิษฐานด้วยจิตที่สดใสบริสุทธิ์ ตามท่านหวังปรารถนาเทอญ...

 

คำอธิษฐาน อัญเชิญเทพเทวดา และขอพรพระ

          ข้าแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้า...ขอน้อมอัญเชิญ เทพยดาเจ้าทั้งหลาย
โปรดได้เสด็จมาฟังการสวดมนต์ภาวนาของข้าพเข้า... ขออนุโมทนาและประสิทธิ์ประสาทพรให้ข้าพเจ้า...
ขอพระองค์ทั้งหลายโปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า พ้นทุกข์ โศก โรคภัย เสนียดจัญไร จงพ้นจากตัวของข้าพเจ้า
และขอให้ข้าพเจ้า...ได้ตาทิพย์ หูทิพย์ และ เจโตปริยญาณ พร้อมเกิดดวงตาเห็นธรรม
ได้สำเร็จมรรคผล ด้วยเทอญ

(กราบ 3 ครั้ง)

 

คำบูชาพระรัตนตรัย

อิมินา  สักกาเรนะ  พุทธัง  ปูเชมิ

อิมินา  สักกาเรนะ  ธัมมัง  ปูเชมิ

อิมินา  สักกาเรนะ  สังฆัง  ปูเชมิ

คำนมัสการพระรัตนตรัย 

                                อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา  พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิฯ  (กราบ)

                                สวากขาโต  ภะคะวะตา  ธัมโม  ธัมมัง  นะมัสสามิฯ  (กราบ)

                                สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ  (กราบ)

คำอาราธณาศีล 

มะยัง  ภัณเต  วิสุง วิสุง   รักขะณัตถายะ
       ติสะระเณนะ  สะหะ   ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ ฯ

  ทุติยัมปิ  ภัณเต  วิสุง วิสุง   รักขะณัตถายะ
       ติสะระเณนะ  สะหะ   ปัญจะ  สีลานิยา  จามะ ฯ

     ตะติยัมปิ  ภัณเต   วิสุง  วิสุง   รักขะณัตถายะ 
      ติสะระเณนะ  สะหะ   ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ ฯ

คำนมัสการพระพุทธเจ้า 

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะฯ

คำนมัสการไตรสรณคมน์ 

                                                                 พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                                 ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                                 สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ฯ

                                                      ทุติยัมปิ   พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ 
                                                      ทุติยัมปิ   ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                      ทุติยัมปิ   สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ฯ

                                                     ตะติยัมปิ    พุทธัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                    
ตะติยัมปิ    ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ
                                                     ตะติยัมปิ    สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ ฯ

คำสมาทานศีล ๕ 

                               ปาณาติปาตา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า
                              
อะทินนาทานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ
                               ที่เจ้าของไม่ได้ให้

                           
    กาเมสุมิจฉาจารา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                              
มุสาวามา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ
                               สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ
                               
ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
                               อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

 คำถวายพรพระ(อิติปิโสฯ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ (พุทธคุณ)

 สวากขาโต ภะคะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ
วิญญูหีติ(อ่านว่าวิญญูฮีติ) (ธรรมคุณ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะกิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ
ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย
ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง
ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (สังฆคุณ)

 ชัยมงคลคาถา(พาหุงฯ)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
กัตวานะ กิฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง** วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิ ฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
 
  *  ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า  เม  เป็น  เต
**  อ่านว่า  พรัมมัง

 อิติปิโส (เท่าอายุ)
(ให้สวดเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๕ ต้องสวด ๒๖ จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ 
 

พระคาถาขอพรเทวดา 

                  อิเมสังเทวตานังอานุภาเวน  อิเมสังอิน์ทานังอานุภาเวน  อิเมสังพ์รห์มานังอานุภาเวน   
                     พุท์ธานังอานุภาเวน   ธัมมานังอานุภาเวน   สังฆานังอานุภาเวน    
                     เชย์ยมังคลัง   อิเมสุสวาหายฯ

                     พุทธาย  ธัมมายะ  สังฆาย  สหัสสโกฏิเทวานัง  
                     พรหมเทวตามัง รักขันตุสัพพทา  จิตตัง  ปิยังมะมะ  นะโมพุทธายะ
 

(ข้าพเจ้ากราบขอพรต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ คุณพระศรีรัตนตรัย
องค์เทพเทวาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ องค์ในตัวของข้าพเจ้า ครูบาอาจารย์
ขอได้ทรงโปรดเมตตาช่วยคุ้มครองรักษา และบันดาลให้เกิดสิริมงคลแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ)

อธิษฐานจิตตามที่ปรารถนา 

แผ่เมตตาให้ตัวเอง

                            อะหัง สุขิโต โหมิ                  ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

                   อะหัง นิททุกโข โหมิ               ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์

                   อะหัง อะเวโร โหมิ                 ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร

                   อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ           ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

                   อะหัง อะนีโฆ โหมิ                 ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

                   สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ           ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ
                                                       รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

 

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

                        สัพเพ สัตตา                 สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย 
                                                 ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

                   อะเวรา โหนตุ               จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

                   อัพยาปัชฌา โหนตุ          จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

                   อะนีฆา โหนตุ                จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

                   สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ     จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด             

พระคาถาชินบัญชร

 เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนา ชินปัญชร ตั้งนะโม 3 จบ
แล้วระลึกบูชา เจ้าประคุณสมเด็จด้วยคำว่า

     ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
     อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
     อิติปิโสภะคะวา ยมราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
     มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


1. ชยาสะรากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา.

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะ คุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกเลนเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภัง กะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

7. กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละถา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา
    สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10.ระตะนัง ปุระโต อาสี ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

11.ขันธะโมระปะริตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

12.ชินานานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะ ชินะ เตชะสา วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

15. อัจเจวะมันโต     สุคุตโต สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ     ชิตุปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ     ชิตาริสังโฆ
      สังฆานุภาเวนะ     ชิตันตะราโย
      สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ

 

บทกรวดน้ำ
(
สามารถนำไปแผ่เมตตาได้เช่นกัน ขึ้นอยู่ที่ท่านจะนำไปใช้)

 

นะโม ๓ จบ
อิทังเม  ญาตินัง  โหนตุ  สุขิตา โหนตุ  ญาตะโย    
ิมินา  ปุญญะกัมเมนะ   
ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้สร้างและสวดมนต์นี้ ขอให้ผลบุญนี้ไปถึงพระจตุโลกบาล พระยมกทั้งสี่ ขอส่งน้ำอุทิศนี้เข้าไป
ในลังกาทวีป  ในห้องพระสมาธิ  เป็นที่ประชุมการใหญ่ของพระแม่ธรณี  ขอให้พระแม่ธรณีจงมาเป็นทิพยญาณ เป็นผู้ว่าการ
ในโลกอุดร  ขอให้พระแม่ธรณีจงนำเอากุศลผลบุญของข้าพเจ้า ที่ได้กระทำในวันนี้นำส่งแก่ข้าพเจ้าในกาลบัดนี้เดี๋ยวนี้เทอญ 
  
นิพานพานะ  ปัจจะโยโหนตุ  พุทธังอนันตัง ธัมมังจักรวาลัง  สังฆังนิพพานัง  
 
ข้าพเจ้าขอแผ่เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา  แก่สรรพสัตว์ที่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ  และขอถวายเป็นปฏิบัติบูชาแด่องค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า พระอรหันต์เจ้า  ข้าพเจ้าขอนำส่งให้บิดา มารดา
ตระกูลพ่อ ตระกูลแม่  พี่ น้อง ปู่  ย่า  ตา  ยาย ญาติพี่น้องทั้งหลาย เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลาย จงได้รับส่วนบุญกุศล
ที่ข้าพเจ้าได้พึงกระทำในครั้งนี้ ขอให้บุคคลที่ข้าพเจ้าเคยล่วงเกินด้วยกายวาจาใจในภพนี้ในภพที่ผ่านมาจงได้รับส่วนกุศล
ที่ข้าพเจ้าได้สร้างนี้ จงปลดปล่อยกรรม  ด้วยกายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม  ให้แก่ข้าพเจ้า และครอบครัว  และข้าพเจ้า
ขอนำส่งให้จตุสดมภ์ทั้ง ๔  ขุนเวียง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา ท่านแม่ทัพ นายกอง หัวหมู่ ขุนพล ทหารหาญทั้งหลาย ข้าทาส
บริวาร ครูหมัด ครูมวย ครูหอก ครูดาบ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศทุกกรมกอง  และขอนำส่งให้  สัตโลหะ นวโลหะ
รัตนชาติ  แร่ธาตุทั้งหลาย  ช้างศึก  ม้าศึก  ม้าเสบียง  วัวควาย ทั้งหลาย หมู เห็ด เป็ด ไก่ กุ้ง หอย ปู ปลา ทั้งสัตว์น้ำจืด
น้ำเค็ม  สัตว์ปีนป่าย  สัตว์เลื้อยคลาน  สัตว์ในครรภ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าเคยเข่นฆ่าก็ดี  บริโภคก็ดี อยู่ในเนื้อ หนัง กระดูก
ตับ ไต ไส้ พุง 
อยู่ในทั้งหมด ๓๒ ประการของข้าพเจ้า  
ข้าพเจ้าขอนำส่งให้  พระอินทร์ พระพรหม พระยายม พระยายักษ์  
พระสยามเทวาธิราช
ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔  พญาครุฑ พญานาค พญาอนันตนาคราช ปู่ฤาษี ๑๐๘ พระองค์  ปู่อินตา  ครูยา
ครูหมอยา เจ้าป่า  เจ้าเขา  เจ้าทุ่ง  เจ้าท่า  เจ้าที่บ้าน  เจ้าที่ทำงาน  รุกขเทวดา  กรรมใดที่ข้าพเจ้ามีกรรมต่อทรัพย์แผ่นดิน
คนของแผ่นดิน  ทำผิดให้เป็นถูก  ทำถูกให้เป็นผิด  และกรรมใดที่ข้าพเจ้าเคยสร้างกรรมกับผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นอดีต  ปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์  ข้าพเจ้าขอให้ท่านมารับอานิสงค์ผลบุญของข้าพเจ้า  เมื่อได้รับผลบุญของข้าพเจ้าแล้ว
จงปลดปล่อยกรรม ปลดเปลื้องกรรม งดเว้นการจองเวรของดวงจิตที่เกิดขึ้นในภพนี้ชาตินี้ ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
ด้วยกุศลในคราวนี้ด้วยเทอญ
นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ (อธิษฐานตามจิตที่ท่านหวังปรารถนา)


   

 

**บอกบุญ**

 

 

 

 

อเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธา
ร่วมบริจาคเงิน
หรือทำบุญให้เด็ก
คนไข้ผู้ติดเชื้อเอดส์ 
และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ท่านสามารถบริจาคโดย
โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ดังนี้.-

ทางธนาคารโดยเข้าบัญชี
"กองทุนอาทรประชานาถ"

ธนาคารกรุงเทพ
สาขาลพบุรี
เลขที่บัญชี 289-0-84697-1

ธนาคารทหารไทย
สาขาลพบุรี
เลขที่บัญชี 304-2-41277-9

ธนาคารนครหลวงไทย สาขาลพบุรี
เลขที่บัญชี 340-2-14976-0

ทางโทรศัพท์ 1900 222 200
กด 1  ครั้งละ ๙ บาท 

หรือจะติดต่อโดยตรงกับ
พระอุดมประชาทร
วัดพระบาทน้ำพุ ลพบุรี

 โทรศัพท์ 0-1831-3441 หรือ   
    036-413805 ต่อ 106      
โทรสาร 036-422600

 

 (redshiva) 2009622_44330.jpg







(redshiva) 2009519_54977.jpg

(ac) 2009530_54774.jpg      การสวดมนต์

        การสวดมนต์ จัดว่าเป็นการหัดทำสมาธิได้อย่างดีประการหนึ่งขณะที่จิตใจอยู่ในความฟุ้งซ่าน จนไม่สามารถที่จะสงบได้ มีวิธีที่จะหักห้ามความนึกคิด ทำจิตใจให้เป็นปกติได้ดีที่สุดก็คือ การสวดมนต์ตามแบบปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา กำหนดให้มีการสวดมนต์ทำวัตรทั้งเช้าและเย็น เฉพาะผู้ที่มีโอกาสน้อย ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญวัตรได้บริบูรณ์ ในชั่วระยะวันหนึ่งคืนหนึ่ง เป็นเวลาใดก็แล้วแต่โอกาส พยายามสวดมนต์ให้ได้สักครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกหัดทำจิตของเราให้เป็นสมาธิ 
         
การสวดมนต์นั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าหากไม่มีก็พึงเอามือสิบนิ้ว และปากกับใจของเราเป็นเครื่องบูชา โน้มน้าวเอากระแสสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๓ ประการ คือ  
          ๑. กระแสของพระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆเจ้า 
          ๒. กระแสของบิดามารดา
          ๓. กระแสของครูบาอาจารย์
         
ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๓ ประการนี้  ให้มาช่วยอุปถัมภ์สมาธิให้บังเกิดกับเรา พึงปฏิบัติ กระทำให้ได้เป็นนิจศีล การกระทำสมาธินั้นก็คือ การตั้งจิตมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว มีพระบรมพุทโธวาท กล่าวไว้ว่า "สมาธิภิกขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูต ปชานาติ" แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง
         
จากอุปกรณ์กัมมัฎฐาน ได้ให้อรรถาธิบายไว้ว่า อาการกายวาจาจะเป็นอย่างใดนั้นย่อมสำเร็จมาจากใจ
เป็นผู้บังคับบัญชา ถ้าใจได้รับการอบรมดีก็บังคับบัญชาให้กายวาจาดีตาม ถ้าใจชั่วก็บังคับให้กายวาจาชั่วตาม
ใจเป็นใหญ่ ท่านจึงสอนให้ทำสมาธิให้เกิด เมื่อใจเป็นสมาธิ แม้จะนำไปนึกคิดอะไรก็สุขุม ย่อมรู้จักความเป็นจริง
ได้ดีกว่าผู้ที่มีใจไม่เป็นสมาธิ  ใจไม่เป็นสมาธินั้นบางคราวอาจทำให้เสียคนได้ เช่น ทำให้เกิดเสียสติเพราะไม่มี
อะไรเป็นเครื่องควบคุม เพราะฉะนั้นการสวดมนต์จึงมีส่วนช่วยให้มีสติ ช่วยควบคุมสมาธิ ควบคุมจิตใจ และ
ฝึกอบรมจิตใจให้เป็นคนสุขุมอดทน การนำเอาบทสวดของการทำวัตรมาไว้ในบ้าน มาสวดที่บ้าน จึงเป็นอานิสงส์อีกอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นสิริสวัสดิมงคลแก่ตนเอง และยังรวมถึงทุกคนที่อาศัยอยู่ในบ้านอีกด้วย และอานิสงส์
อีกอย่างหนึ่งที่ได้รับ คือ การได้อยู่ในบ้านที่ร่มเย็นด้วยธรรม

 

 (tava) 2009424_57798.jpg










(tava) 2009424_57940.jpg

อานิสงส์จากการสวดมนต์ 

สำหรับใครที่คิดว่าเราสวดมนต์ไปวันๆ เพื่อประโยชน์อะไร ท่องๆ ไป บางครั้งสวดไปเราเองก็ไม่ได้รู้หรือทราบถึง
คำแปลเลยแม้แต่อย่างใด ดังนั้นมีหลายคนที่ตั้งคำถามว่าเราสวดมนต์ไปเพื่ออะไร คำตอบมีให้ทุกท่านแล้ว

                ประการแรก  ย่อมได้รับความขยัน เพราะการสวดมนต์เป็นการทำลายความรู้สึกเบื่อเซื่องซึม หรือ
เกียจคร้านให้หมดไป มีความกระฉับกระเฉงขึ้น เช่น เราจะเปรียบเทียบระหว่างการนอนสวดมนต์กับนั่งสวดมนต์
ก็จะเห็นว่ากิริยาอาการต่างกัน อารมณ์ก็ต่างกัน บางคนสวดมนต์ก่อนนอน นอนสวดก็เพื่อสวดให้ตัวเองหลับ
แต่ไม่ได้สวดไหว้พระสักเท่าไหร่

                แต่ถ้าเราตื่นนอนแล้วก็รีบมา เมื่อได้ยินเสียงตีระฆัง ก็เหมือนมีสัญญาณกระตุ้น ยิ่งทำให้เราได้รับ
ความขยันและในขณะสวดมนต์เราก็ต้องขยันเพราะถ้าไม่ขยันมองก็จะออกเสียงไม่ถูกนี่จึงเป็นผลที่เกิดขึ้นมา
คือได้ความขยันนั่นเอง

                ประการที่สอง  ในขณะสวดมนต์นั้นก็ยังได้รับความแช่มชื่นแจ่มใส เพราะในขณะนั้นจิตของเรา
ไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงมิได้กล้ำกรายเข้ามาในจิต

                ประการที่สาม  ได้ปัญญา เมื่อเราหมั่นทำความเข้าใจในคำแปลนั้นก็จะรู้ความหมาย ย่อมทำให้
ผู้สวดได้ปัญญา เพราะไม่ได้สวดแจ้วๆ อย่างนกแก้วนกขุนทอง เพราะอย่างน้อยก็ได้รู้ว่า ทำไมพระพุทธเจ้า
บอกว่า ภาระอันยิ่งใหญ่ คือ ขันธ์ ทำไมจึง
ชาติปิทุกขา ชราปิทุกขา มรณัมปิทุกขัง
ก็เพราะเราเรียนแล้วว่า
ขันธ์นั้นเป็นทุกข์ แม้จะรู้โดยรวมก็ยังดีกว่าไม่รู้เลย เหมือนกับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรม ก็จะท่องป่าวๆ ไป

                ประการที่สี่  การที่เราสวดมนต์กันนี้ จะส่งผลให้เรามีจิตเป็นสมาธิ เพราะต้องสำรวมแน่วแน่
ในการสวด   กาย วาจา ก็ต้องเรียบร้อย  ใจก็มีความอ่อนน้อมลงไป  ถ้าไม่มีสมาธิแล้วการสวดมนต์ก็จะผิด
เพราะได้หน้าลืมหลังไม่แน่วแน่

                ประการที่ห้า  มีความระลึกรู้ในคุณของพระพุทธเจ้า มีพระปัญญาธิคุณ เป็นต้น

                ประการที่หก  ได้ความสุขใจ คือ เกิดปิติในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระธรรม
คำสอนที่มีเหตุผลจะช่วยให้มั่นใจมากขึ้นว่า เมื่อใดประพฤติปฏิบัติได้แล้วจะสุขจริง เมื่อใดประพฤติปฏิบัติ
ยังไม่ได้ก็ยังได้สุขไม่จริง

                ประการที่เจ็ด  ทำให้หยุดความประมาทได้ เพราะชีวิตของเรามีเวลาน้อย อยู่ไปไม่ถึง ๑๐๐ ปี
ก็ต้องจากโลกนี้ไป และมาถึงวันนี้ก็มีเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆ มากมาย เราจึงต้องทำสิ่งที่สวนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คือ รีบละบาปอกุศล เร่งสร้างบุญบารมี และรีบเจริญสติกำหนดรูปนามเพราะทั้งสามประการนี้จัดว่าเป็นอัปปมาทธรรมทั้งสิ้น

 

 

(tava) 2009513_36732.jpg

 

คาถาบูชาองค์พ่อจตุคามรามเทพ

 
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
จตุคามรามเทวัง โพธิสัตตัง มะหะคุณัง
มะหิทธิกัง อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง นะโมพุทธายะ

ข้าพเจ้าขอบูชาท้าวจตุคามรามเทพโพธิสัตว์
ผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ มีฤทธานุภาพไพศาล
ขอความสำเร็จและโชคลาภ จงมีแก่ข้าพเจ้าเป็นนิรันดรเทอญ
 

 

 

(deva) 2009613_52844.jpg

 

  

บทสวดบูชาพระพิฆเนศ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ
(บทนี้เสริมความสำเร็จเจริญก้าวหน้าในธุรกิจ)

โอม กษิปหะ ปรัสทายะ นะมะหะ
(บทนี้ช่วยในด้านการหลุดพ้นจากเรื่องร้ายๆ
การติดขัด อุปสรรคทั้งงาน, อุบัติเหตุ)

  • คำว่า กษิปหะ แปลว่า ความรวดเร็ว
 

(deva) 2009613_52894.jpg
   คำอธิษฐานในการปล่อยสัตว์หรือทำบุญต่างๆ

นะม ๓ จบ

             ข้าพเจ้าชื่อ............นามสกุล.................ลูกขอตั้งจิตถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ทั้งหลายในสากลโลก วันนี้ลูกตั้งจิตเป็นมหากุศลในการให้ทานชีวิตสัตว์คือ.....................วันนี้ลูกขอปล่อยท่านทั้งหลายให้เป็นอิสระ  ให้ชีวิตท่าน
พ้นภัยอันตราย ให้อยู่สุขสบาย  หากลูกมีเคราะห์ขอให้ไปกับสรรพสัตว์  
ขอบุญกุศลนี้ส่งผลให้ข้าพเจ้ามีชีวิตที่ดีขึ้น                   
             ข้าพเจ้าขอพรจากสัตว์ทั้งหลายนี้ จากความทุกข์ชาติปัจจุบัน
อันได้แก่ กรรม ๓๒  เวทนา ๒๕ โรค ๙๖  อุบัติ ๑๖ อันตราย ๑๐  กัลป์ ๓ วิวาท ๕  ล้มละลายจงพินาศไป  ขอให้ข้าพเจ้าหมดอันตราย ทำมาหากินรุ่งเรือง เจริญก้าวหน้าในสัมมาอาชีพ  มีเงินทองใช้หมุนเวียนไม่ขาดมือ  
มีโชคมีลาภไม่ขาดสาย ให้มีจิตร่าเริงแจ่มใส อยู่เย็นเป็นสุขภายในครอบครัว บริวาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในตัวข้าพเจ้าตลอดกาลนานเทอญ

                             (ก่อนปล่อยสัตว์ สวดมนต์ อาราธนาศีล สมาทานศีล ๕ และอธิษฐานจิตขอพร)

 


(deva) 2009710_45981.jpg
 

พระศิวะ คือผู้เป็นเจ้า มีอำนาจในการทำลายทุกสรรพสิ่ง หยั่งรู้ถึงจิตใต้สำนึกของมนุษย์ทุกคน เป็นผู้ประสาน
พลังแห่งจักรวาล เป็นที่เกรงกลัวแก่อสูรและสิ่งชั่วร้าย เป็นผู้อยู่เหนือเหล่าโยคี เทพเทวา และภูติ พระองค์คือ
เทพแห่งการถือพรต และเป็นเป้าหมายอันสูงสุดแห่งการปฏิบัติธรรมของไศวะนิกาย
พระศิวะ ทรงให้การคุ้มครองแก่ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้อุทิศตนเพื่อสังคม ผู้ที่หมั่นทำบุญทำทาน ผู้ที่ปฏิบัติโยคะเพื่อความหลุดพ้น ทรงพอพระทัยผู้บำเพ็ญตบะด้วยความพากเพียร พระองค์ทรงพาเหล่าสรรพสัตว์ข้ามไปสู่ภพ
ที่ปราศจากซึ่งกิเลสตัณหา
การปฏิบัติการบูชาและตั้งจิตระลึกถึงพระศิวะ จะช่วยให้พ้นจากกิเลส พ้นจากการยึดติดในอบายมุข สิ่งมัวเมา
ทั้งหมด ทรงประทานสติปัญญาในการดำรงชีวิตร่วมกับสัตว์โลก ประทานอำนาจเหนือศัตรู ทรงบันดาลพรให้ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนประทานการหยั่งรู้ในพลังลึกลับ พระองค์มีอำนาจสูงสุดในการ
ควบคุมเหล่าภูติให้กระทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้บูชาพระองค์อย่างเคร่งครัด

 
(deva) 2009710_46010.jpg

การบูชาพระศิวะ
โต๊ะ หรือแท่นบูชา สามารถประดิษฐานร่วมกับเทพองค์อื่นๆได้ เช่น พระพรหม พระวิษณุ ศิวลึงค์ หรือครอบครัวของพระองค์ คือ พระแม่อุมา พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศ พระขันทกุมาร  ควรปูโต๊ะหรือแท่นบูชา
ด้วยผ้าสีขาว สีแดง สีเงิน โดยเฉพาะ ผ้าพิมพ์ลายหนังเสือ (หนังเสือเทียม) ท่านจะโปรดมาก   แท่นหรือโต๊ะ
ควรเป็นลายไม้ธรรมชาติ หรือทาสีด้วย สีดำสนิท สีแดง สีเงิน โดยไม่มีลายสีทอง (พระองค์ไม่โปรดสัญลักษณ์
ที่สื่อถึงทองคำ เนื่องจากพระองค์ปฏิบัติโยคะอย่างสูงสุด มีความสมถะ เรียบง่าย)
เครื่องสังเวย ของถวาย
น้ำดื่ม นมสด (จืดหรือหวาน ไม่ปรุงแต่งกลิ่นหรือสี)
ดอกไม้
สามารถใช้ดอกดาวเรือง ดอกบัว ดอกกุหลาบ ดอกไม้ป่าต่างๆ ทุกสี ทุกพันธุ์
กำยาน กลิ่นจันทน์ กลิ่นดอกบัว กลิ่นสมุนไพรและพรรณไม้ต่างๆ
ผลไม้ ควรถวายผลไม้ที่มีกลิ่นหอมโชยอ่อนๆ รสชาติอ่อนๆ ไม่เปรี้ยวจัด ไม่หวานจัด หรือขมจัดเกินไป ผลไม้
ไม่ควรปอกเป็นคำๆ ควรถวายทั้งเปลือก หรือเป็นลูกๆ เช่น กล้วยทั้งหวี (แต่มะพร้าวจะต้องผ่าหรือเทใส่แก้ว)
ขนม เช่นเดียวกับเทพทุกองค์ คือ ถวายขนมรสหวาน มีกลิ่นหอม ห้ามถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์
ธัญพืช เช่น งา ลูกเดือย ข้าวตอก ใบมะตูม หญ้าคา เผือก มัน ถั่วฝัก เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว เมล็ดบัว พริกไทย
เครื่องเทศต่างๆ
 
(deva) 2009613_52816.jpg

คาถา บทสวดมนต์บูชาพระศิวะ
อย่าลืม : ก่อนการสวดบูชาพระศิวะนั้น จะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ
บทสวดมนต์พระศิวะมีอยู่มากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(เลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือหลายๆบท)

1. โอม นะมัส ศิวาย
2. โอม นะมัส ศิวายะ
3. โอม นะมัส ศิวายะ นะมะฮา
- บทอัญเชิญ
 

4. โอม อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
ทุติยัมปิ อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
ตะติยัมปิ อิศราเม ศิวะเทวัญจะ ภะวันตุเม
5. โอม กรรมปูระเคารัม กรุณาวะตารัม
สัมสาระสารัม ถุชะเคนทะระหารัม
สะทะวะสันตัม หฤทะยาระวินเท
ภะวัมภะวานี สาหิตัม นะมามิ
 
(deva) 2009710_46769.jpg

  - บทสรรเสริญ
6. โอม นะมัส ศิวายะ จะ นะมัสศิวารายะ
จำเปนะ เคารา นะสีธะ กายายะ
ตันตะ ปูระณะ กาวะนะสิ จะ กายอ
นะมัสศิวารายะ ยะยอ กัตตุกะรี
คิกากัง คะมะติ จัตติตา ยอเนสิ
สะกุลธะรา ยายะ นะมัสศิวาระยะ
อาระคัม สัมปุญญะยัม สีวิรุธ
ตะรัยยะเก มะเหยเต

7. โอม นะมัส ศิวายะ
จำเป นะเคารา นะสีระกายายะ
กัตตะปูระณะ กาวะนะสี จะกายอ
นะมัสสิ วายะยายะ จะนะมัสสิ วายะยอ
กัตุกรี คิกากัง คะมะติวัตติตายายะ
มะมิกุณธะลายอ นะมัสสิวายายะ จะนะมัสสิวายา
อะระคัม สัมปุญญัม สีวิรุส
ตะไรยยะเก กาเม จะมะเหยะเต
 


   


   

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...